อาร์บีเอส-15เอฟ มาร์ค-1 ของ อาร์บีเอส-15

อาร์บีเอส-15เอฟ มาร์ค-1 ติดตั้งกับอากาศยาน เจ-37 วิกเก้น ในปี 1989

อาร์บีเอส-15มาร์ค-1 นั้นใช้ระบบค้นหาเป้าหมายทางอิเล็คทรอนิคแบบ 9จีอาร์400 เรดาห์ เคยู-แบนด์ความถี่ 0.2-1.0 ไมโครเซค ระบบอำนวยการรบแบบ9 แอลวี200 เรดาห์มีมุมกวาดทางราบ 30 องศา ทางสูง 15 องศา

ในปี 1991 ซาบ กำหนดโครงการอัพเกรด อาร์บีเอส-15 ภายใต้ชื่อทีเอสเอ แผนอัพเกรดเทอร์น่า เพื่อให้อาวุธปล่อยสามารถลิงซ์เชื่อมต่อแก้ไขข้อมูลเป้าหมาย ระบบหัวค้นหาอินฟาเรด กล้องทีวี และระบบเรดาห์แสดงภาพเป้าหมายที่ค้นเจอ เริ่มอัพเกรดปี1993จากมาร์-1เป็นมาร์ค-2 โดยรุ่นยิงจากเรือรบชื่อ อาร์บีเอส-15เอ็ม มาร์ค-2และทำการอัพเกรดมาร์ค-1เป็นมาร์ค-2ทั้งหมดในช่วงปี1994-97ติดตั้งเรดาห์ดิจิตอล เอฟเอ็มดับบิวซี แยกค้นหาและประมวลผลที่จับได้ด้วยการรวมสิ่งที่เรดาห์พบเข้าด้วยกันเช่นฉากหลังของเรือที่จอดชายฝั่งเพื่อการโจมตีเป้าหมายที่แม่นยำ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น800ก.ก. สามารถเลี้ยงหัก90องศาด้วยความเร็วสูงทนแรงจีได้สูงถึง8จี ระยะยิง150ก.ม.

นอกจากนั้น อาร์บีเอส-15ยังมีรุ่นเอเอ็มไอเค ที่ติดตั้งหัวรบค้นหาแบบอินฟาเรดกำลังสูงสำหรับยิงจากอากาศยานใช้แผนแบบการพัฒนา ซีเอเอสโอเอ็ม ของบริติส-แอร์โรว์สเปซ เข้ามาพัฒนาด้วย หัวรบมาสามารถค้นหาด้วยความละเอียด8-12ไมครอน ซึ่งมีขีดความสามารถในการค้นหาและโจมตีเป้าหมายอัตโนมัติ

ในปี1995จึงมีแผนอัพเกรดเป็นรุ่น มาร์ค-3 และลงนามร่วมพัฒนาระหว่าง ซาบของสวีเดนกับ เดลแอล-บีจีที แห่งเยอรมันในปี1999เพื่อทำการอัพเกรดและผลิต มาร์ค-3 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเจพี-10 ระยะยิง200ก.ม. โคจรต่ำเข้าหาเป้าหมายที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล2ม. สามารถกำหนดจุดเลี้ยวเข้าตีเป้าหมายได้ ดัดแปลงช่องรับอากาศเข้าให้มีการสะท้อนเรดาห์ต่ำลงตรวจจับจากข้าศึกได้ยาก ระบบสงครามอิเล็คทรอนิค ระบบเดินอากาศจีพีเอส/ไอเอ็นเอส สำหรับโจมตีเป้าหมายชายฝั่ง บริษัท เดลแอล-บีจีที ดีเฟน์ท ได้รับสัญญาจากท.ร.ในการติดตั้ง อาร์บีเอส-15เอ็ม มาร์ค-3 กับ เรือคอร์เวตชั้น เค-130 ของเยอรมันในวันที่22กันยายนปี2005 พอวันที่6ตุลาคมปี2006 โปแลนด์ลงนามจัดหาอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 ไปใช้กับเรือรบ

น้ำหนักตัวจรวดลดลงเหลือ630ก.ก. ไม่รวมบูสเตอร์ ปล่อยความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดน้อยมากยากต่อการตรวจจับด้วยระบบเซนเซอร์ความร้อน อายุการใช้งานของอาวุธปล่อยที่30ปี นอกจากนั้นอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 ยังเลือกติดตั้งระบบค้นหาและนำทางเป้าหมายแบบเรดาห์และหัวค้นหาอินฟาเรดเพื่อใช้งานคู่กันในการโจมตีเป้าหมายให้แม่นยำมากขึ้น โดยหัวรบมีน้ำหนักลดลงเหลือ200ก.ก.

นอกจากอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 จะทนทานต่อการแจมสัญญาณ ก่อกวนด้วยระบบสงครามอิเล็คทรอนิคแล้ว ยังมีโหมดเพื่อใช้ในการโจมตีหลากหลาย เช่นยิงข้ามเกาะที่ฉากบังเรือฝ่ายเราเข้าหาเป้าหมาย ใช้ฮ.หรืออากาศยานลิงซืเชื่อมข้อมูลเป้าหมาย กำหนดเส้นทางโคจร การกำหนดค้นหาพื้นที่เป้าหมาย การซัลโวหาเป้าหมายในทิศทางต่างๆกันเพื่อทำให้ระบบป้องกันเรือเป้าหมายทำงานได้ยาก ซึ่งหากทำการยิงในระยะไม่เกิน165ก.ม. สามารถกำหนดจุดเลี้ยวได้ถึง25จุด

อาร์บีเอส-15เอสเอฟ หรือ มาร์ค-2 ของ ฟินแลนด์นำไปติดตั้งภารกิจป้องกันฝั่งในชื่อ เอ็มทีโอ-85(จำนวน70คัน) ส่วนมาร์ค-3 ใช้ชื่อ เอ็มทีโอ-85เอ็ม(จำนวน48คัน) ส่วนของโครเอเชีย ใช้ชื่อ เอ็มโอแอล สามารถรองรับอาร์บีเอส-15มาร์ค2/3ได้4นัดต่อคัน

อาร์บีเอส-15 มาร์ค-4 เริ่มโครงการพัฒนาไปในปี2003 ระยะยิง400-100ก.ม.

สำหรับกองทัพไทยนั้นได้จัดหา อาร์บีเอส-15เอฟ (ส่วนรุ่นไม่ทราบ แต่น่าจะมาร์ค-3ที่ใช้กันในปัจจุบัน)มาติดตั้งกับบ.ข.แบบ ยาส-39 กริพเพน เพื่อเสริมขีดความสามารถในการโจมตีทางทะเล